ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การใช้งานเสียงและวิดีโอ(flash)

การนำเข้าไฟล์เสียง
เสียงประกอบในมูฟวี่ของ Flash แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
Event Sound หมายถึงเสียงที่ต้องถูกดาวน์โหลด มาครบสมบูรณ์ก่อน จึงจะเริ่มเล่นได้ 
และเมื่อเล่นแล้วก็จะเล่นอย่างต่อเนื่องจนกว่าเราจะสั่งให้หยุดStream Sound 
หมายถึงเสียงซึ่งจะเริ่มเล่นทันที่ ที่ข้อมูลของเฟรมแรกๆ ถูกดาวน์โหลดเข้ามามากพอที่จะเล่นได้
ไฟล์เสียงที่เราสามารถอิมพอร์ตเข้ามาใช้ใน โปรแกรม Flash คือไฟล์ประเภท WAV,AIFF (.aif)
และ MP3 นอกจากนี้หากเครื่องติดตั้งโปรแกรม QuickTime 4 ขึ้นไป ก็จะสามารถใช้ไฟล์เสียงประเภทอื่นๆ 

ได้อีกหลายชนิด คือ AIFF,AU,QuickTime,System7 และ Sound Designer II

ขั้นตอน การอิมพอร์ตเสียง
ขั้นที่ การอิมพอร์ตเสียง
1. เลือกคำสั่ง File > Import > Import to Library...
p03
 
2. ในกรอบ Import เปิดหาไฟล์เสียงที่ต้องการ (หมายเลข 1)
3. คลิกที่ชื่อไฟล์นั้น (หมายเลข 2)
4. คลิก Open (หมายเลข 3)
sound01 
3. ไฟล์เสียงจะถูกนำมาเก็บไว้ในไลบรารีโดยมี ไอคอนเป็นรูปลำโพง  
sound02
4. ที่เฟรมที่ต้องการแทรกเสียง (ตามภาพคือเฟรมที่ 10) ให้กด F6 เพื่อแทรกคีย์เฟรม  
sound03
5. เลือกเพลงที่จะให้เริ่มเล่นที่เฟรมที่ 10 โดยเลือกชื่อเพลงที่ช่อง Sound ในหน้าต่าง Properties
(หมายเลข 4) และเลือกแบบ Stream (หมายเลข 5)
sound04
 6. กำหนดช่วงเวลาในการเล่น เช่น ต้องการเล่นเพลงไปถึงเฟรมที่ 40 ให้คลิกที่ 40 แล้วกด F6
เพลงจะเล่นจากเฟรมที่ 10 - 40
sound05
7. หากต้องการใส่ effect ให้กับเสียง สามารถใส่ได้จากหน้าต่าง properties ที่ช่อง Effect
ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ (หมายเลข 8)
sound06
การจัดการเกี่ยวกับเสียง
การลบเสียงออกจากเฟรม
     กรณีที่แทรกเสียงในเฟรมแล้วดังภาพ (เสียงเล่นที่เฟรมที่ 1-40)
s_edit03
เมื่อต้องการลบเสียงออก ทำได้โดย
1. คลิกที่เฟรมใดเฟรมหนึ่ง ในระหว่างเฟรมที่ 1-40
2. ที่หน้าต่าง Properties ช่อง Sound ให้คลิกเลือกเป็น None 
s_edit04
การลบเสียงออกจาก Movie
     กรณีที่เมื่อนำไฟล์เสียงเข้ามาใน Movie แล้ว และต้องการลบออก ทำได้โดย
เปิดหน้าต่าง Library แล้วคลิกไฟล์เสียงที่ต้องการลบ (หมายเลข 1)
แล้วคลิกถังขยะ (หมายเลข 2)


การนำเข้าไฟล์วิดีโอ
การเผยแพร่วิดีโอด้วย Flash มีหลายรูปแบบ เช่น
แบบ Progressive จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นการลิงค์ไฟล์จากภายนอกมาใช้ ทำให้นำเสนอได้
เร็วแต่มีข้อจำกัดคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตต้องเร็วด้วย ถ้าความเร็วน้อย อาจทำให้วิดีโอกระตุกได้ แบบ Streamingเป็นการลิงค์ไฟล์จากภายนอกเช่นกัน แต่จะเล่นแบบ real time (ถ่ายทอดสด) 
ซึ่งต้องอาศัยบริการเฉพาะของเซิร์ฟเวอร์
แบบ Streaming โดยใช้ Flash Communication Server ซึ่งจะต้องมีโปรแกรมควบคุม
การเล่นและติดต่อกับผู้ชม เช่นFlash Media Serverแบบ Embedding Video เป็นการฝัง
หรือแนบไฟล์วิดีโออยู่ในไฟล์ Flash ด้วย ซึ่งเวลาที่ผู้ชมจะชม ต้องดาวน์โหลดไฟล์มาทั้งหมดได้ก่อน
 ซึ่งเหมาะสำหรับไฟล์วิดีโอสั้นๆ (ไม่ต้องดาวน์โหลดนาน)
แบบ Link QuickTime video สำหรับไฟล์วิดีโอแบบ QuickTime (.mov) ถ้าตั้งค่าการเล่นด้วย Flash Playerโปรแกรมจะเรียกไฟล์มาเล่นด้วย Quick Time Player
การเผยแพร่วิดีโอแบบ Progressive และ แบบ Streaming


1. คลิกเมนู File > Import > Import Video...    
v01
2. คลิก Browse เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอ (หมายเลข 2)
3. เลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการ (หมายเลข 3)
4. คลิก Open (หมายเลข 4)
v02
5. คลิก Next (ปุ่มด้านล่าง)
6. เลือกรูปแบบการเผยแพร่ตามต้องการ (หมายเลข 5)
v03
7. คลิก Next >(ปุ่มด้านล่าง)
8. คลิกแล้วเลือกคุณภาพการเข้ารหัส (หมายเลข 6)
9. คลิก Next > (หมายเลข 7)
g1.jpg
10. คลิกแล้วเลือกรูปแบบหน้ากากแผงควบคุม (หมายเลข 8)
11. คลิก Next > (หมายเลข 9)
v05
12. คลิก Next (ปุ่มด้านล่าง)
13. คลิก Finish (ปุ่มด้านล่าง)
14. รอสักครู่จะมีหน้าต่างแสดงความคืบหน้าการเข้ารหัส (ภาพที่ 6)
v08
ภาพที่ 6
15. เมื่อเสร็จแล้วจะได้ดังภาพที่ 7 สามารถทดสอบดูได้โดยกด Ctrl + Enter
v09
ภาพที่ 7


การทำงานกับ Flash Video
Flash Video (.flv) เป็นความสามารถในการทำให้การนำเสนอภาพวิดีโอร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ
เช่น ภาพนิ่ง กราฟิก เสียง ข้อมูลอื่นๆ โดยผู้สร้างงานปรับแต่ง ดัดแปลงแก้ไขได้ตามความต้องการ

 โดยใช้โปรแกรมเสริมที่ติดตั้งพร้อมกับ Flash 8 คือโปรแกรม Macromedia Flash 8 Video Encoder
ขั้นตอนกการทำ งาน
เปิดโปรแกรม โดยคลิก Start > Programs > Macromedia > Macromedia Flash 8 Video Encoder
ve001
ภาพที่ 1
2. นำเข้าวิดีโอ โดยคลิก Add.. (หมายเลข 2)
3. คลิกเลือกไฟล์ จากหน้าต่าง (หมายเลข 3)
4. คลิก Open (หมายเลข 4)
5. คลิกปุ่ม Settings... เพื่อปรับค่าต่างๆ (หมายเลข 5)
ve002
ภาพที่ 2
6. คลิกเลือกระดับคุณภาพการเข้ารหัส (หมายเลข 6)
7. ตั้งชื่อไฟล์ (หมายเลข 7)
8. คลิกปุ่ม OK (หมายเลข 8)
ve006
9. หากต้องการแปลงไฟล์พร้อมกันหลายๆ ไฟล์ ให้ทำขั้นตอนที่ 2-8 ซ้ำจนครบ
10. คลิกปุ่ม Start Queue เพื่อเริ่มการแปลงไฟล์ (หมายเลข 10) เมื่อแปลงไฟล์เสร็จจะได้ไฟล์ที่โฟลเดอร์ของไฟล์ต้นฉบับดังนี้
ve005
สามารถเพิ่ม คัดลอก หรือลบไฟล์ได้จากหน้าต่าง โปรแกรม (ภาพที่ )
ve004

การปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับวิดีโอ
หลังจากการนำเข้าไฟล์วิดีโอแล้ว เราสามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าต่างๆ ได้ 
ซึ่งสามารถทำได้จากหน้าต่างโปรแกรมFlash 8 ได้โดยตรง
ขั้นตอนกการทำ งาน
1. เปิดไฟล์วิดีโอ ที่ได้นำเข้ามาแล้ว (หมายเลข 1) แล้วคลิกที่ object หรือที่ภาพวิดีโอ
c001
2. ที่หน้าต่าง Properties คลิกแท็บ Parameters (หมายเลข 2)
3. คลิกตั้งค่าการเล่นอัตโนมัตจากหน้าต่างในช่อง AutoPlay (หมายเลข 3)
โดยค่า True คือ เมื่อเปิดวิดีโอ กำหนดให้เล่นอัตโนัติ
           False คือ เมื่อเปิดวิดีโอ กำหนดให้หยุดไว้ก่อน
c004
4. ในทำนองเดียวกัน การตั้งค่าอื่นๆ หากมีตัวเลือก True และ False สามารถกำหนดค่าลักษณะเดียวกัน เช่น
การตั้งค่าการเล่นวนซ้ำ (หมายเลข 4)
โดยค่า True คือ เมื่อเปิดเล่นวิดีโอ เมื่อเล่นจบแล้ว กำหนดให้เล่นวนซ้ำ
           False คือ เมื่อเปิดเล่นวิดีโอ เมื่อเล่นจบแล้ว ไม่ต้องวนซ้ำ
c005
5. การปรับเปลี่นหน้ากากแผงควบคุมการเล่น
ทำได้โดย คลิก ช่อง Skin (หมายเลข 5) แล้วคลิกที่สัญลักษณ์แว่นขยาย (หมายเลข 6)
ve007
 
6. เลือกรูปแบบได้โดยคลิกที่หน้าต่างช่อง Skin (หมายเลข 7)

c003
แหล่งข้อมูล : การสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยโปรแกรม Macromedia FLASH Professional 8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น