ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่

ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่

พระธรรมสิงหบุราจารย์

    คุณธรรมที่มีความสำคัญยิ่งในชีวิตของคนประการหนึ่ง คือ ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ หรือบางทีก็เรียกว่า “รู้จักที่ต่ำที่สูง” หรือ “รู้จักฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ” ซึ่งมีความหมายถึงรู้จักสถานภาพที่เป็นจริงทั้งของตนและของคนทั้งหลาย นับเป็นความเหมาะสมแห่งจิตสำนึกที่สมบูรณ์ในเบื้องต้นชีวิตที่มีค่ายิ่ง คนไทยและสังคมไทยในอดีตได้ใช้ความรู้นี้เป็นทางดำเนินชีวิต ประสบความสำเร็จมากมาย ทั้งในการ สร้างคน รักษาตน พัฒนาคน เพื่อความเจริญ และความปลอดภัย
    อาตมาจึงมีความเห็นว่าความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่นี้ควรจะเป็น “หลักวัฒนธรรมไทย” เพราะคุณลักษณะไทยที่น่าภาคภูมิใจ คือ ความสุภาพอ่อนโยน และความกตัญญูกตเวที ที่ต่างชาติยกย่องเชิดชูกันทั่วไป ก็มาจากความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่
    ไทยได้คุณธรรมอันนี้มาจากพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพระบรมครูของเราได้ทรงกำหนดไว้ ให้พระภิกษุสงฆ์ดำรงตนอยู่ด้วยความเป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ตามสถานะที่เป็นจริง คือ ตามอันดับแห่งความเป็นพระภิกษุของแต่ละรูป เพื่อรวมกันเป็นสังฆกรรม และยั่งยืนด้วยดีมานาน
    สมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมนี้ จึงมีความสงบเรียบร้อย และมีความสามัคคีปรองดองกันดี เป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใส เป็นแบบอย่างของคนและสังคมทั่วไป สังคมที่ประกอบด้วยคนที่รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ย่อมเป็นสังคมที่สงบ มีความเข้มแข็ง และมั่นคงในอุดมการณ์ของตน
    คนที่รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่เป็นคนมีจิตใจบริสุทธิ์ ตามสถานะที่เป็นจริง ย่อมมีความสามารถในการปฏิบัติตน ปฏิบัติการงานและหน้าที่ได้เหมาะสมกับความพอเหมาะและความถูกต้อง เป็นคนมีโอกาสในชีวิตทุกด้าน คือ
๑. จะอยู่ที่ไหนก็สบาย
๒. จะไปที่ไหนก็สะดวก
๓. จะทำอะไรก็สำเร็จ
เพราะ….
๑. เป็นที่เมตตาปรานีของผู้ใหญ่
๒. เป็นที่รักใคร่ของญาติมิตร
๓. เป็นที่เคารพนับถือของผู้น้อย
    เป็นคนสำคัญทุกกาลเทศะ เพราะสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจคนทั้งหลายสำเร็จ เป็นคนไม่มีปัญหา และสามารถจะแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้ว
    เป็นคนที่มีความพร้อมในสังคมทั่วไป เพราะสังคมย่อมประกอบด้วยคนที่มีฐานะไม่เท่ากัน คนที่มีฐานะเท่ากันรวมกันยาก รวมกันไม่ติด
ฐานะคนที่สำคัญในสังคมก็คือ
๑. เด็ก หรือ ผู้น้อย
๒. ผู้ใหญ่
    สังคมย่อมมีลักษณะเหมือนนาฬิกาแบบเก่า คือ นาฬิกาที่มีตัวจักรเป็นกำลังเดิน นาฬิกาแบบนั้นมีจักรหลายตัว และจักรทุกตัวมีขนาดไม่เท่ากันมันจึงเดินได้
    ถ้าจักรทุกตัวเท่ากันมันจะไม่เดินแน่ เพราะมันมีกำลังเท่ากัน ไม่มีตัวไหนดึงตัวไหนดัน ตัวไหนลากตัวไหนได้ ความไม่เท่ากันของตัวจักรทั้งหลายทำให้นาฬิกาเดินได้ฉันใด ความไม่เท่ากันของคนทั้งหลายในสังคมก็ทำให้สังคมมีสภาพสังคมได้ฉะนั้น วัดหนึ่ง ๆ แม้จะมีพระหลายรูป ก็มีเจ้าอาวาสรูปเดียว ถ้ามีหลายรูปเมื่อใดก็วัดแตกเมื่อนั้น บ้านหนึ่งแม้จะมีผู้ชายหลายคนก็มีพ่อเพียงคนเดียว ถ้ามีพ่อหลายคนเมื่อใดก็บ้านแตกเหมือนกัน
เด็กที่รู้ตัวว่าเป็นเด็กย่อมอยู่กับผู้ใหญ่สบาย เพราะผู้ใหญ่รักใคร่สงสาร
ผู้ใหญ่ที่รู้ตัวว่าเป็นผู้ใหญ่ก็อยู่กับเด็กได้สบาย เพราะเด็กเคารพเชื่อฟัง
เด็กที่เป็นเด็กหรือรู้ตัวว่าเป็นเด็ก ย่อมเป็นเด็กที่น่าเอ็นดู และผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ใหญ่ก็ย่อมเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเชิดชูบูชา
    สังคมไทยเราในปัจจุบันนี้มีปัญหา ไม่ว่าบ้านไม่ว่าวัดก็เพราะขาดความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ การแก้ปัญหาสังคมจะต้องเริ่มที่จุดเด็ก จุดผู้ใหญ่ โดยใครเป็นเด็กก็ยอมรับว่าเป็นเด็กบ้าง ใครเป็นผู้ใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่บ้าง ถอยหลังเข้าคลองกันเสียหน่อย มีทางที่จะราบรื่นได้ โปรดนึกถึงชีวิตสังคมแบบเก่า ๆ ดูบ้างจะพบทางสำเร็จแน่
    สิ่งที่จะโน้มน้าวเข้าสู่ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ได้ประการหนึ่ง ก็คือ ความเชื่อในเรื่องประสบการ และประสบการณ์ ว่าเป็นเรื่องจริง คือ เชื่อว่าประสบการและประสบการณ์ มีคุณค่าแก่ชีวิตแน่ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงยกย่องพระอัญญาโกณฑัญญะ ว่าเป็น เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
    ทำนองเดียวกันที่ท่านเคยพูดว่า “อาบน้ำร้อนมาก่อน” ย่อมจะทราบดีว่าน้ำร้อนมีความสำคัญอย่างใด มีคุณค่าหรือมีโทษประการใด
    อีกประการหนึ่ง ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่นี้ยังสามารถช่วยการปกครองให้เกิดความราบรื่นได้ เมื่อผู้ใต้ปกครองหรือใต้บังคับบัญชากระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม หรือมีความบกพร่องผิดพลาดจากประการใดจนเกิดความเสียหายขึ้น ถ้าผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชา จะคิดว่าเขายังเป็นเด็กเขาคงจะไม่มีความคิดกว้างขวางลึกซึ้งรอบคอบเหมือนเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่กว่า ก็จะสามารถคลี่คลายความไม่พึงพอใจของตนเองได้ พอจะพบทางของความราบรื่นต่อไป หรือแม้ผู้น้อยจะจงใจกระทำความผิดพลาดเช่นนั้น ถ้าจะคิดถึงเรื่องสภาพจิตของผู้น้อย โดยคิดว่าคนทำผิดเหมือนคนเดินทางผิด ควรได้รับความสงสารเห็นใจ ก็จะพบทางแห่งความราบรื่นได้ เช่นเดียวกัน
    ในทำนองเดียวกัน ถ้าผู้ใหญ่ทำอะไรที่ผู้น้อยเข้าใจว่าไม่เหมาะสม ผู้น้อยคิดว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ อาจจะมีเหตุผลที่สมควรจะทำเช่นนั้นก็เป็นได้ ก็คงจะมีทางนำไปสู่ความราบรื่นได้
    เพราะทั้งผู้น้อยทั้งผู้ใหญ่ ถ้ายอมรับความเป็นผู้น้อยผู้ใหญ่ของตน และของอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อใด ความคลี่คลายจากทางร้ายก็จะเกิดขึ้น นำไปสู่ความให้อภัยในระหว่างกันถ้าไม่เช่นนั้นก็จะมีแต่ความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงต่อกันโดยลำดับ ไม่รู้จักสิ้นสุด
    ทุกสิ่งทุกอย่างจะเรียบร้อยได้ด้วยความรู้จักผู้ใหญ่แน่นอนที่สุด
    อย่างไรก็ดี ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการนำของ
ผู้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นใหญ่ คือ
ผู้ใหญ่ที่เห็นใจผู้น้อย
ผู้ใหญ่ที่ยอมเสียเปรียบผู้น้อย
ผู้ใหญ่ที่มุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และประโยชน์ของผู้น้อย
ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความเห็นของผู้น้อยบ้าง
ผู้ใหญ่ที่ไม่มัวเมาในลาภยศ ไม่บ้าอำนาจบาตรใหญ่
ผู้ใหญ่ที่ยอมรับว่าตนคนเดียวทำอะไรไม่ได้ถ้าผู้น้อยไม่ให้ความร่วมมือ
    ผู้ใหญ่ที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมคือ ผู้ใหญ่ที่มีลักษณะตรงกันข้ามจากที่กล่าวมา ไม่สามารถจะทำให้เกิดความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ มีแต่จะสร้างความวุ่นวายให้เกิดยิ่งขึ้นโดยลำดับ
    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ เป็นนโยบายหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาของคนและสังคม เป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของไทย
    ท่านผู้นำในฝ่ายพระพุทธศาสนาก็ดี ในฝ่ายการบริหารบ้านเมืองก็ดี โปรดระลึกว่าการฟื้นฟูและการรักษา เรื่องการรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่เป็นการดำรงพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ที่มีความหมายประการสำคัญประการหนึ่ง
    บัดนี้เรามาสู่ท้องทะเลใหญ่ ไม่มีอะไรเป็นที่หลบคลื่นลมได้ก็โปรดถอยหลังเข้าคลองบ้าง อาจจะอยู่รอดต่อไปได้
    อาตมาเชื่อมั่นว่าถ้ายังมีความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่อยู่ครบได้ตราบใด สังคมไทยก็ยังคงอยู่อย่างมีความหมายอยู่ตราบนั้น

คณะผู้จัดทำ http://www.jarun.org/contact-webmaster.html
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ญาติสนิท มิตรสหาย ผู้มีพระคุณ ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวรทุกภพ ทุกชาติ

การมีระเบียบวินัย

ความคิดเห็นเกี่ยวกับวินัย

1.วินัย…ในบางกลุ่ม


                  วินัยสำหรับผม คือ การทำตามกฎของโรงเรียน สังคม ประเทศ เช่น กฎการตัดผม การแต่งกาย การเข้าแถว เป็นต้น ผมเองก็ยังพอมีระเบียบ   วินัยอยู่บ้าง เช่น เวลาการไปโรงเรียนผมจะกำหนดเวลาในการทำธุระส่วนตัว การกินข้าว การแต่งตัว และการนั่งรถไปโรงเรียน เป็นต้น
                  แต่ถึงโรงเรียนที่ผมอยู่จะเป็นโรงเรียนที่มีระเบียบวินัยสูงมาก แต่ก็ยังมีคนที่ไม่ปฏิบัติตามและเรื่องก็มีอยู่ว่า ช่วงเย็นของทุกวันผมและ    เพื่อนๆ จะมาเล่นฟุตบอลกันอยู่ที่โดมของโรงเรียน แต่มีพี่อยู่กลุ่มหนึ่งที่ชอบมาแย่งลูกฟุตบอลของเพื่อนผมไปเล่นโดยไม่ยอมคืนให้ และยังใส่  รองเท้าหนังเล่นฟุตบอลอีก
 ซึ่งสำหรับโรงเรียนแล้วยังเป็นการผิดกฎของโรงเรียนอีกด้วย แต่พอไปขอคืนก็ไม่ให้คืน ผมพยายามไปแย่งคืนพอไปแย่งคืนมาได้แล้ว พี่เขาก็มา  ต่อยหรือถีบ (บางครั้ง)  แต่ผมก็ไม่ตอบโต้ เพราะ ไม่อยากทำผิดกฎของโรงเรียน ผมเลยใช้วิธีง่ายๆคือแกล้งเดินไปที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียน พี่เขา  ถึงยอมคืนให้ พี่ที่ว่านี้ผมไม่ของเอ่ยชื่อ ผมคงบอกได้แค่ว่าอยู่ ม.3 แล้วกันครับ
ผู้เขียน : ด.ช.ภูวนาท  วังมุก  ชั้นม.1/3  เลขที่13
———————————————————————————————————
2.ระเบียบวินัย แบบผิดๆ
   1013299_289651681183361_97428907_n
                      มีระเบียบวินัย ความคิดเห็นของผม ก็คือ ทำตามระเบียบของโรงเรียน ไม่แหกกฎของโรงเรียน   ผมอยู่ที่ โรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย นครปฐม ผมศึกษาอยู่ชั้น ม.1 ผมอยู่ห้อง 1/3 เมื่อผมเลิกเรียนทุกวันประมาณ 15.00 น. บางวันผมก็เล่นตะกร้อ กับเพื่อนๆ บางวันก็เล่นฟุตบอลกับเด็กนักเรียนชั้น ม.1/1 และ ม 1/2 ซึ่งบางวันนะครับ จะมีพวกพี่ ม.3กลุ่มนึงครับ ชอบมาแย่งบอลและตะกร้อพวกผมไปแล้วนำไปเล่นกันเอง อีกอย่างคือ วันไหนก้ตามที่พวกพี่พวกนั้นเตะบอล ขณะที่ใส่รองเท้าหนังด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดระเบียบ มากๆ กลุ่มๆนี้นะครับผม เจอพี่คนนึงบ่อย มากๆในเวลาที่ถูกแย่งบอล(ไม่เอ่ยนาม)
ผู้เขียน : ด.ช.สิรภพ  พรหมแก้ว  ชั้นม.1/3  เลขที่15
———————————————————————————————————
3.วินัย…แบบเด็กกาญจนา
                 “วินัย” สำหรับผมคือ คนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกัน ด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน
33
                 ในโรงเรียนของเราก็มีรุ่นพี่หลายคนที่มีระเบียบวินัย  แต่คนที่ผมจะยกตัวอย่างคนนี้ หลายๆคนในโรงเรียนอาจจะรู้จัก พี่สานนท์ ทวีนุช  อยู่ชั้น  ม.3/4  โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม  (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)  พี่สานนท์เป็นคนที่มีระเบียบวินัยอย่างเห็นได้ชัด  พี่สานนท์มีความเป็นสุภาพบุรุษ คอยช่วยน้องๆเวลาที่มีปัญหา และเวลามีกิจกรรมของโรงเรียน พี่สานนท์เขาก็จะมาช่วยงานโรงเรียน แล้วพี่เขาก็ยังได้รางวัลเกี่ยวกับความเป็นสุภาพบุรุษอีกด้วย
44
                พี่สานนท์ยังเป็นยุวกาชาดชายอีกด้วย และทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเยี่ยมบ้านคุณยาย การเดินสวนสนามเนื่องในวันยุวกาชาด เป็นต้น แต่พี่เขาก็ไม่ได้ทำกิจกรรมแค่นี้ ในทุกๆตอนเย็น พี่สานนท์ก็จะเสียสละเวลาของพี่เขามาซ้อมสวนสนามให้ยุวกาชาดชาย –หญิง ที่จะไปเดินสวนสนามในวันยุวกาชาด
ผู้เขียน : ด.ช.สุดเขตต์  เกิดทวี  ชั้นม.1/3  เลขที่17
———————————————————————————————————
4.”ระเบียบวินัย” สร้างคนดี..สู่ประเทศชาติ
                    คำว่าระเบียบวินัยสำหรับผมแล้วมันหมายถึง  กฎกติกาการอยู่ร่วมของสังคมต่างๆ เพื่อให้เกิดความมีระเบียบวินัยเคารพซึ่งกันและกัน  ซึ่งเกิดจากการประพฤติตน ด้วย กาย วาจา ใจ จะทำให้ความแตกต่างของคนตั้งแต่2คนขึ้นไป ลงลอยกันได้ดี อธิเช่น การที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักส่วนกุหลาบมัธยม) มีเอกลักษณ์ประจำโรงเรียนคือการ มีระเบียบวินัย  นักเรียนทุกคนต้องทำตามกฎของโรงเรียน เช่น การตัดผมทรงนักเรียน การห้ามเล่นกีฬา ด้วยโรงเท้าหนัง  การรักษาความสะอาดของห้องเรียน ฯลฯ
                  ตัวอย่า งที่ดีของคนอื่นๆ ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพื่อนผม คือ ด.ช.สิรภพ พรหมแก้ว เพราะ เขาทำตามกฎของโรงเรียน   คือทุกๆครั้งที่เขาเล่นกีฬาเขาจะเตรียมรองเท้ากีฬามา  และไม่ใส่รองเท้านักเรียนเล่นกีฬา
1526994_283748475107015_1359320037_n
ผู้เขียน : ด.ช.หิรัญชลิต  ธนิยผล  ชั้นม.1/3  เลขที่18
———————————————————————————————————
5.วินัยที่ดี…ต้องมีตัวอย่าง
                    คำว่า “วินัย” ในความคิดของฉันคือ สิ่งที่จะทำให้เราเป็นคนดี เรียบร้อย ไม่ทำผิดศีลธรรม  อยู่ในกรอบของกฎหมายกฎระเบียบ  และฉันก็คิดว่า การที่จะมีวินียที่ดีได้นั้น เราต้องมีตัวอย่างที่ดีไว้เป็นแรงบันดาลใจด้วย
                    ฉันศึกษาอยู่ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  นครปฐมมาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี การที่ฉันได้อยู่ในโรงเรียนนี้ทำให้ฉันได้ฝึกระเบียบวินัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ก่อนเข้ามาเรียนก็ต้องมีการเข้าค่ายฝึกระเบียบวินัยม่านต้องตา  พอได้เข้ามาเรีนก็มีการฝึกวินัยในการเข้าแถว และวินัยอื่นๆอีกมามาย  และทุกครั้งฉันจะเห็นพี่คนหนึ่งมาฝึกเป็นประจำ เขาชื่อพี่ สานนท์  ทวีนุช  เขาเรียนอยู่ชั้นม.3  เขาเป็นคนช่วยอาจารย์ฝึกระเบียบให้น้องๆและเพื่อนๆที่อยู่ในโรงเรียน
312232_475525575859908_1252184624_n
ยอมรับค่ะว่าตอนแรกๆก็ไม่ค่อยชอบพี่เขา เพราะพี่เขาดุ น่ากลัว  แต่พอได้รู้จักพี่เขาไปเรื่อยๆ ทั้งใน Facebook หรือที่โรงเรียน ก็ได้รู้ว่าเขาเป็นคนที่ใจดี สนุกสาน และฉันก็ชื่นชมเขาตรงที่ว่า  สิ่งที่เขาทำไปทุกอย่างมีแต่จะทำให้คนเกลียด  แต่เขาก็ยอมเพื่อให้โรงเรียนมีระเบียบวินัย ฉันจึงยกเขาเป็นตัวอย่างของฉัน
ผู้เขียน : ด.ญ.ณัชชา  เสียงล้ำเลิศ  ชั้นม.1/3  เลขที่25
———————————————————————————————————
6. ตัวอย่างคนมีระเบียบวินัยและไม่มีระเบียบวินัย
บุคคลที่ไม่มีระเบียบวินัย
     ตัวอย่าง พี่มัธยมศึกษาปีที่ 3 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง พี่เค้าไม่มีระเบียบวินัย ในเรื่องที่ขณะกำลังเข้าแถวเพื่อทำกิจกรรมตอนเช้าพี่กลุ่มนี้ได้ยืนเล่น ยืนคุย และคุณครูก็ได้มาตักเตือนแต่พี่เค้าก็ไม่สนใจและเมื่อคุณครูได้เดินผ่านไปพี่เค้าก็ยังทำพฤติกรรมเช่นเดิม และ พักกลางวันพี่กลุ่มเดิมก็มาแย่งบอลที่น้องมัธยมศึกษาปีที่ 1 และไม่คืนแถมยังว่าน้องอีก
บุคคลที่มีระเบียบวินัย
    ตัวอย่าง พี่สานนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง พี่เค้าเป็นผู้นำยุวกาชาดในการฝึกระเบียบแถวและให้คำแนะนำน้องๆเมื่อน้องๆเกิดปัญหาและพี่เค้าก็เรียนเก่งด้วย
55
ผู้เขียน : ด.ญ.ณัฏฐธิดา  รัมภาสกุล  ชั้นม.1/3  เลขที่ 26
———————————————————————————————————
7.ความมีวินัย…เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเป้าหมายและความสำเร็จ
             การมีวินัย ไม่ได้หมายความถึงการเข้าแถว การยืนตรง เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงระเบียนในการใช้ชีวิต การจัดสรรเวลา …
ข้าพเจ้าขอชื่นชมพี่คนหนึ่งในโรงเรียนของข้าพเจ้า ชื่อว่า พี่ปาลิวันธุ์ หรือพี่จ๋า พี่เขาเป็นนักเรียนพระราชทาน และเป็นคนที่เรียบร้อย ดูมีระเบียนวินัย แต่งการเรียบร้อย และวางตัวได้เหมาะสมมากๆ ข้าพเจ้าคิดว่าพี่คนนี้เหมะสมที่เป็นนักเรียนพระราชทานอย่างแท้จริง
66
ผู้เขียน : ด.ญ.ลลิตา  รอดแตง  ชั้นม.1/3  เลขที่38
———————————————————————————————————
8.เพื่อนดี มีวินัย
             คำว่า วินัยของฉันหมายถึง ความมีระเบียบ มีสมาธิ ตั้งใจทำสิ่งที่ทำอยู่
me
                บุคคลที่ฉันคิดว่ามีระเบียบวินัยในสายตาฉันก็คือ เด็กชายภูวนาถ วังมุก อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 3 มีชื่อเล่นว่า มาร์ค  เหตุที่ฉันคิดว่า เขาเป็นคนมีระเบียบเพราะ เวลาเขาแถวมาร์คจะไม่วอกแวก จะมีสมาธิเวลาร้องเพลงชาติและสวดมนต์  แม้แต่เวลาที่่มีกิจกรรมหน้าเสาธง มาร์คจะไม่คุยไม่เล่น จะนั่งเงียบๆ และฉันไม่เคยเห็นมาร์คจะแต่งตัวผิดระเบียบเลยซักครั้ง(?)
ผู้เขียน : ด.ญ.วรัญญา  ห้วยหงษ์ทอง  ชั้นม.1/3  เลขที่่39
———————————————————————————————————
9.ระเบียบวินัย  ง่ายนิดเดียว
ระเบียบวินัยในความคิดของฉัน
วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับสำหรับควบคุมความประพฤติทางกายของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกัน ด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ให้ห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
การอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข การงานที่ทำก็จะเสียผล
ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก ดอกไม้ทั้งหลายเหล่านี้จะด้อยค่าลง หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้ายดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงามเหมาะที่จะนำไปใช้ประดับตกแต่งให้ เจริญตาเจิรญใจ เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันอยู่อย่างมีระเบียบงดงามนั้นเปรียบเสมือนวินัย
วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคมคน ให้คนเราใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร คือทำให้เป็นคน “ฉลาดใช้” นั่นเอง
                ฉันคิดว่าระเบียบวินัยหมายถึงการที่เราอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เขาได้กำหนดไว้ให้ ไม่ทำตรงกันข้ามกับที่เขาได้ตั้งกฎเอาไว้ ปฏิบัติตามกฎที่เขามีไว้ให้ทำตาม มีระเบียบวินัยในตนเองอยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องให้มีคนมาคอยบอกหรือคอยเตือนเรา ระเบียบวินัยนี้เราสามารถสร้างมันให้เกิดขึ้นกับเราได้โดยง่ายเพียงแค่เราต้องให้ความเข้าใจในระเบียบและทำตามกฎระเบียบเหล่านั้นด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะทำให้เราเป็นคนมีระเบียบวินัยอยู่เสมอ และเป็นนิสัยที่ดีต่อตัวเราและคนรอบข้าง และความมีระเบียบวินัยจะช่วยให้เราอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างสงบสุขและไม่มีปัญหาซึ่งกันและกัน
ผู้เขียน : ด.ญ.สุวิชาดา  เลิศวัลลภ  ชั้นม.1/3  เลขที่45
———————————————————————————————————
10. ความมีวินัยในแบบของเรา
           การมีวินัยในความคิดของฉันก็คือ การยอมรับและถือปฏิบัติตาม กฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียมโดยสิ่งที่เราปฏิบัตินั้นต้องเป็นสิ่งที่เหมาะสม ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่ก็ยังปฏิบัติ อย่างน้อยการที่เราจะสร้างวินัยในตัวเราได้นั้นเราจะต้องเคารพกฎ กติกา ทางสังคมด้วย หรือพูดง่ายๆคือ วินัยเป็นสิ่งที่พึงควรปฏิบัติ และสามารถเป็นแนวทางและแบบแผนในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันได้
         ซึ่งความมีวินัยนั้นฉันสามารถสังเกตได้จากสภาพแวดล้อมในโรงเรียนซึ่งมีความแตกต่างออกไปและผู้ที่มีวินัยในโรงเรียนที่อาจจะไม่พูดถึงหรือละเว้นไม่ได้เลย คือ พี่สานนท์ หรือ ด.ช.สานนท์ ทวีนุช นั่นเองตอนแรกที่หนูเข้ามาแล้วเจอพี่สานนท์ตอนมาดต้องตา ตอนที่พี่เขาขึ้นมาสาธิตท่าต่างๆ เสียงพี่สานนท์โหดมากมันทำให้หนูคิดว่า พี่สานนท์ต้องเป็นคนที่ดุมากแต่พอหนูเรียนมาเรื่อยจนหนูได้เห็นพี่สานนท์ในด้านต่างๆ อยากจะบอกเลยว่าพี่สานนท์เป็นคนที่มีระเบียบวินัยมาก ไม่เคยทำอะไรผิดกฎของโรงเรียนเลย เช่น พี่เขาตัดผมถูกระเบียบ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในตัวของพี่สานนท์สามารถทำให้พวกหนูเห็นได้เลยว่า
 “ พี่สานนท์เป็นตัวอย่างในด้านระเบียบวินัยที่ดีเลยค่ะ ”
1601310_725658987452536_931645641_n
ผู้เขียน : ด.ญ.อัจฉรา  พงศ์ภพไพบูลย์  ชั้นม.1/3  เลขที่48
                            จากเว็บ http://mewinine.wordpress.com/


เพลง ระเบียบวินัย : ไชยญาณ บุญยศ


https://www.youtube.com/watch?v=u3wYM-F68FM

การเคารพกฎเกณฑ์


การเคารพกฎเกณฑ์


การเคารพกฎเกณฑ์เป็นหลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมโดยปกติสุข ไม่ว่าจะเป็นสังคมใดหรือประเทศใด การอยู่ร่วมกันของผู้คนเป็นจำนวนมากในสังคมต้องอาศัยกฎระเบียบกติกาของสังคม ซึ่งคนในสังคมนั้นๆจำต้องเรียนรู้กฎกติกาของสังคม พร้อมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมนั่นคือ ต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกาทางสังคม การอบรมสมาชิกในสังคมให้เกิดการเรียนรู้กฎเกณฑ์และกติกาของสังคม คือ การถ่ายทอดวิถีชีวิตวัฒนธรรม และการทำให้สมาชิกในสังคมนั้นสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง ซึ่งในสังคมที่ได้มีการจัดระเบียบอย่างดีแล้วนั้น การอบรมให้เรียนรู้กฎเกณฑ์ของสังคมเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำ เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ การเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปของสังคมใหม่และสถาบันใหม่ สมาชิกในสังคมก็จะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ใหม่และยอมรับค่านิยมใหม่ และในขณะ เดียวกันที่พ่อแม่ครอบครัวก็ต้องทำหน้าที่เป็นตัวหลักที่สำคัญในการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการเคารพกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ของสมาชิกในสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

เด็กที่เคารพกฎเกณฑ์มีพฤติกรรมอย่างไร?

ลักษณะของเด็กที่รู้จักเคารพกฎเกณฑ์ทางสังคมนั้นมีรายละเอียดดังนี้
  1. มีความรู้และความเข้าใจในกฎเกณฑ์กติกาของสังคม ความรู้และความเข้าใจในกฎเกณฑ์กติกาของสังคมนั้น เกิดขึ้นจากกระบวนการทางสังคมนั้นๆเองที่มีวิวัฒนาการทางสังคมมาอย่างยาวนาน จนสามารถทำให้ผู้คนภายในสังคมค่อยๆซึมซับหรือเรียนรู้ไปโดยอัตโนมัติ เช่น กฎเกณฑ์ทางศีลธรรม สำหรับสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมแห่งพุทธศาสนา เด็กก็จะซึมทราบรับเอาหลักคุณธรรมและศีลธรรม ตลอดถึงวัฒนธรรมทัศนคติในพุทธศาสนามาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติสำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เช่น การนำศีลธรรมมาเป็นหลักในการดำรงชีวิต ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติเคารพกติกาในการอยู่ร่วมกัน อันได้แก่ การไม่เบียดเบียนกันไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจา ไม่ล้อเลียน หรือรังแกเพื่อน อาจกล่าวได้ว่า ศีล 5 นั้นเป็นหลักสากลของมนุษยชาติก็ได้ เพราะไม่ว่าในสังคมใดก็จำต้องอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียด เบียน หากอยู่ด้วยกันโดยความเบียดเบียนก็ทำให้สังคมนั้นไม่มีความเจริญ ปราศจากความสุขสงบ อาจถึงขึ้นสังคมแตกสลายก็เป็นได้ การเคารพสิทธิผู้อื่นด้วยการไม่ละเมิดในทรัพย์สินของผู้อื่น ขออนุญาตก่อนที่จะหยิบยืมของใช้จากเพื่อน ไม่หยิบฉวยของของเพื่อนมาเป็นของตน การรู้จักประมาณคือพอเพียงไม่แย่งของรักของผู้อื่น การให้ความจริงหรือความซื่อ ตรงต่อคนอื่นโดยการพูดแต่ความจริง พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดให้เกิดความสามัคคี ไม่พูดปด นับเป็นการทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นทางสังคม หรือสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมได้ และการดำรงสติด้วยการไม่ทำสติสัมปชัญญะของตนให้บั่นทอนลงไปด้วยอบายมุข มีสิ่งเสพย์ติดให้โทษต่างๆ เห็นโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด นี่เป็นตัวอย่างในกระ บวนการเรียนรู้กฎกติกาทางสังคม
  2. ยอมรับและการปฏิบัติตามกฎกติกาทางสังคม บ่อยครั้งที่ปัญหาสังคมเกิดจากการที่คนในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎกติกา ดังนั้นการมีกฎกติกาไม่ได้หมายความว่าจะทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าหากว่าผู้คนในสังคมยังขาดจิตสำนึกในการที่จะปฏิบัติตามครรลองทางสังคม เด็กปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมจะทำตามระเบียบของโรงเรียน ข้อตก ลงในห้องเรียน ข้อตกลงในบ้าน
  3. ได้รับการกล่อมเกลาทางสังคม เป็นวิธีการในการช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม หมาย ถึงการที่เด็กจะปฏิบัติตามกรอบกติกาได้นั้น จำต้องได้รับความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งจากสถาบันครอบครัว ชุมชน โรง เรียน และศาสนา อันเป็นเครื่องหลอมรวมให้เกิดความสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเองและกติกาของสังคมร่วมกัน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จึงต้องคอยตักเตือนให้เด็กอยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคมเสมอจนติดเป็นนิสัย

การเคารพกฎเกณฑ์มีความสำคัญอย่างไร? 

นักสังคมวิทยาได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่าเป็นสัตว์สังคม ซึ่งการดํารงชีวิตของมนุษย์นั้นจึงจะต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อจะได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดผลต่อการมีชีวิตรอด และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่เนื่องจากลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์บางประการ มีสภาพที่ไม่แตกต่างไปจากสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น ความ ต้องการที่จะทําอะไรตามความคิดและจิตใจของตนเอง ความต้องการในเรื่องอํานาจและความเป็นใหญ่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึง เป็นปัจจัยที่ทําให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ไม่สามารถดําเนินไปได้ ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความวุ่นวายในด้าน ต่างๆนั้น การกดขี่ข่มเหงซึ่งกันและกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน และบางครั้งอาจนําไปสู่การต่อสู้ประหัตประหารกันขึ้น ดัง นั้น มนุษย์จึงได้คิดแนวทาง วิธีการ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการจัดระเบียบทางสังคมขึ้น เพื่อกําหนดแนวทางในการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเจริญก้าวหน้าต่อไป การเคารพต่อกฎเกณฑ์ทางสังคมนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการบ่งบอกความเจริญทางด้านคุณธรรมของผู้ประพฤติปฏิบัติเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วนั่นคือการสร้างความเจริญรุ่งเรืองความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขให้กับบ้านเมืองและสังคม ซึ่งการที่ผู้คนในสังคมเคารพและประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมนั้น เป็นดรรชนีชี้วัดถึงอารยธรรมของสังคมหรือประเทศนั้นๆได้เป็นอย่างดี และการประพฤติปฏิบัติตามกฎกติกาของผู้คนในสังคมนั้น อุปมาประหนึ่งว่ามีความงดงามเหมือนพวงมาลัยที่ร้อยขึ้นจากดอกไม้หลายสีถูกนำมารวมอยู่ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ ดอกไม้นั้นก็คือตัวแทนของผู้คนในสังคมที่ประพฤติปฏิบัติตามกรอบกติกาทางสังคม ส่วนด้ายสำหรับร้อยดอกไม้นั้นก็คือตัวแทนของกติกากฎเกณฑ์ทางสังคม อันจะใช้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันนั่นเอง ดังนั้นในสังคม ถ้าหากว่าจะมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และในสังคมนั้นก็มีกฎกติกาของสังคมอยู่อย่างมากมาย ก็มิได้เป็นเครื่องหมายการันตีว่า สังคมนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบ ร้อย ถ้าหากว่า ระเบียบกฎเกณฑ์ยังคงบัญญัติขึ้นเฉยๆไม่ได้มีการนำมาใช้จริงในภาคปฏิบัติ ความสำคัญจึงอยู่ที่การได้นำเอากฎเกณฑ์ต่างๆมาสู่ภาคการปฏิบัติได้จริงเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นสาเหตุของการที่จะได้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางสังคมได้อย่างแท้จริง

การเคารพกฎเกณฑ์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 

การที่เด็กได้ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น การปลูกฝังให้เด็กเพิ่มความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัยในการที่จะอยู่ร่วม กันในสังคม เพื่อที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพในวันข้างหน้า เพราะความประสบความสำเร็จในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้น เริ่มมาจากการที่บุคคลแต่ละคนได้รับการปลูกฝังอบรมให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ การที่ได้ทำตามกรอบกติกาตั้งแต่เด็กนั้น ก็คือการสอนให้เขาได้รู้จักความอดทนในอันที่จะไม่ทำอะไรตามใจตนเอง เอาชนะกิเลสหรือที่พูดกันโดยทั่วไปว่า เอาชนะใจตน เมื่อเป็นได้อย่างนี้ก็เป็นเครื่องรับรองได้ว่า ชีวิตของเด็กคนนั้นก็จะมีความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักธรรมที่แสดงถึงประโยชน์จากการเป็นคนเคารพต่อกฎกติกาไว้ดังนี้
  1. ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ เพราะเป็นคนว่านอนสอนง่าย ยึดมั่นในกฎกติกา จึงเป็นสาเหตุให้เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนาของผู้คนโดยทั่วไป
  2. ทำให้ได้รับความสุขกาย สบายใจ การปฏิบัติตนตามครรลองของสังคมนั้น ย่อมทำให้ตนมีความเจริญรุ่งเรือง เพราะการกระทำที่ถูกต้องเป็นเหตุให้ได้รับผลเช่นนั้น
  3. ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย ความที่ตนเป็นผู้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ด้วยการพูดและทำ กล่าวคือ ด้วยกายกรรมและวจีกรรมที่แสดงออกมาได้อย่างถูกต้องตามกฎกติกา จึงเป็นผลให้ไม่ต้องได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง มีความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากการอยู่ร้อนนอนทุกข์นั่นเอง
  4. ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย การที่ตนเองเป็นคนว่านอนสอนง่ายนั้น เป็นการง่ายที่จะได้รับเอาคำสั่งสอนแนะนำจากผู้อื่น ไม่แข็งกระด้างและมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
  5. ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้ เป็นธรรมดาของคนที่ว่านอนสอนง่าย สามารถปฏิบัติตามกฎ เกณฑ์ทางสังคมได้ ย่อมเป็นที่รักและพร้อมให้การช่วยเหลือจากผู้อื่น
  6. ทำให้สติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท การเป็นคนที่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมได้นั้น ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การครองสติและสัมปชัญญะเอาไว้ให้ได้ เมื่อทำได้ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนไม่ประมาท
  7. ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง การดำรงตนอยู่ในกรอบกติกาช่วยทำให้เพิ่มพูน ความประณีต มีความละเมียดละไม สุภาพ สุขุมลุ่มลึก และมีความสงบเย็นแก่บุคคลโดยทั่วไป
  8. ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ
  9. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่งเสริมการเคารพกฎเกณฑ์ให้ลูกอย่างไร? 

การที่เด็กๆจะเป็นผู้รู้จักเคารพกฎระเบียบกติกาของสังคมได้นั้น พ่อแม่ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมของลูก เพราะพ่อแม่นั้นคือต้นแบบที่แท้จริงสำหรับลูกๆ หากพ่อแม่ได้แนะนำอบรมลูกๆของตนได้อย่างถูกต้องด้วยแนวทางการสอนการถ่ายทอดที่ดีงามแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยอย่างสำคัญต่อชีวิตลูกๆ ซึ่งแนวทางในการปลูกฝังความเป็นคนมีระเบียบวินัยให้กับลูกๆนั้นอาจมีหลายวิธีแตกต่างกันไปดังนี้
  • การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง การสอนการอบรมทุกอย่างไม่มีวิธีการใดที่จะสัมฤทธิ์ผลได้เท่ากับการทำเป็นตัวอย่างให้ดู กล่าวคือ การดำรงตนตามปกติของมารดาบิดาอย่างมีระเบียบวินัยมีความเรียบร้อยนั้น เป็นการฝึกอย่างแท้จริง เพราะเด็กๆย่อมได้เห็นพฤติกรรมของพ่อแม่ที่เรียบร้อยดีงามเป็นต้นแบบในการที่จะประพฤติปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากพ่อแม่ประพฤติปฏิบัติตนได้จริง แม้จะกล่าวสอนแนะนำบุตรหลาน โอวาทหรือคำแนะนำพร่ำสอนนั้นย่อมมีน้ำหนักอันควรเชื่อถือและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ เพราะลูกหลานได้เห็นเป็นตัวอย่างมาแล้วว่าสามารถทำได้และให้ผลเป็นความดีเช่นไร การพร่ำสอนคนอื่นอย่างที่ตนกระทำได้ คือการพูดอย่างที่ทำนั่นเอง
  • การฝึกฝนให้ลูกๆมีความซื่อตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกฝังตั้งแต่เด็กด้วยการเริ่มจากเรื่องง่ายๆ คือการฝึกเด็กๆรู้จักทำอะไรให้เป็นเวลา เช่น นอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ทานอาหารเป็นเวลา แม้กระทั่งเล่นเป็นเวลา สิ่งเหล่านี้ค่อยกล่อมเกลาเด็กให้รู้จักทำอะไรเป็นเวลา เป็นการสอนให้เขารู้จักระเบียบวินัยในชีวิตโดยอ้อม
  • การฝึกให้เด็กทำงานพร้อมทั้งการติดตามดูแลเพื่อให้เด็กๆทำงานได้ตามกำหนดที่ตั้งไว้ เมื่อเด็กๆเริ่มเติบโตขึ้น พ่อแม่ควรฝึกหัดให้เด็กได้มีความรับผิดชอบต่อการงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ให้เด็กๆรู้จักล้างจาน ซักเสื้อผ้าเอง หรือกวาดบ้านถูบ้านเป็นต้น ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่าควรทำเมื่อไร ยังไง การทำเช่นนี้เป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรับผิดชอบต่อการงานและระเบียบเวลาที่ตั้งไว้ อีกทั้งตัวของเด็กๆยังได้เห็นผลของการกระทำเช่นนั้นว่าเป็นอย่างไร กล่าวคือ ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน หรือความสำเร็จของงานที่ตนรับผิดชอบ
  • การสอนให้เด็กๆ รู้จักกฎเกณฑ์ทางสังคมตลอดถึงวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อและค่านิยมต่างๆ เพื่อเป็นการสอนให้เด็กๆได้รู้ว่าควรวางตนอย่างไรในสังคม กล่าวคือจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องในสังคม วิธีการนี้ อาจทำได้โดยให้เด็กๆได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงจากการที่พ่อแม่เปิดโอกาสให้ลูกหลานได้ศึกษาจากประสบการณ์นอกบ้าน
มารยาทในการดำรงตนเพื่อการอยู่ในสังคมให้เป็นบุคคลมีมารยาท คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังในเรื่องต่อไปนี้
  1. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
  2. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี 7 ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า“จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”
  3. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และ ไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
  4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช้อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่างๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชันหรือส่อเสียด
  5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
  6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
  7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำ คัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
  8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดม การณ์สำคัญคือ “การช่วยเหลือผู้อื่น” พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า “จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด” การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสีย สละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูควรที่จะหาสถานการณ์เพื่อใช้ในการถ่ายทอดและปลูกฝังให้เด็กเกิดการเรียนรู้และแยกแยะว่า สถานการณ์ใดที่ควรจะ ต้องแสดงพฤติกรรมแบบใด เพื่อสร้างประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและมีความสุขในสังคม

บรรณานุกรม

  1. งามตา วนินทานนท์. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบริษัท ประชาอุทิศการพิมพ์ จำกัด.
  2. ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ค่านิยม 12 ประการ หัวข้อ8 มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่


ข้อที่ 8.  มีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย  ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่   คนไทยต้องซึมซาบจากการเข้าแถว เคารพในการมีระเบียบวินัย จะสร้างการเรียนรู้ไปถึงการเคารพบุคคลอื่น จากนั้นเราก็จะหนักแน่นในการเคารพกฎหมายดำเนินการดังนี้
             - สร้างกฎระเบียบวินัยภายในโรงเรียน  ตั้งแต่ หัว จรดเท้า  มีทั้งคำชื่นชมและบทลงโทษ
             - เมื่อพบเจอผู้ใหญ่ให้ไหว้ก่อน  โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่ารู้จักหรือไม่

ตัวอย่างละคร











ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.


1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง






วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คลิปสอนใช้ Flash

Flash สอนทำการ์ตูน Animation คนเดิน


                                                                อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=9E8hf6R-lmk

สอน flash ซูม-แพน (zoom-pan) เปลี่ยนมุมกล้อง


                                                              อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=jzI6f6cIq90

P.TrickสอนFlash การทำตัวละครพูด



                                                                 อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=TAhNHkwkerM

การทำตากระพริบ-flash



                                                              อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=1YfRAKpJhOc

สอนFlash ทำโลกหมุน




                                                       อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=XhqxuidSr5k



วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเผยแพร่และนำไปใช้(flash)

เกี่ยวกับการสร้างมูฟวี่ (Movie)
1. การสร้างภาพเคลื่อนไหว แบบ Motion Tween จะทำให้ไฟล์เล็กกว่าแบบ Frame by Frame
2. หลีกเลี่ยงการนำภาพบิตแมพ มาสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว ควรนำมาใช้เป็นฉากหลังหรือภาพนิ่งเท่านั้น
3. ควรใช้ซิมโบล แทนออบเจ็คที่มีปรากฏอยู่ในมูฟวี่ (ดูได้จากหน้าต่าง Library)
4. หากจำเป็นต้องนำภาพบิตแมพ มาใช้ ควรตัดภาพให้ขนาดเล็กเท่าที่จำเป็นและบีบอัดคุณภาพลงก่อน
5. หากต้องใช้เสียง ควรเลือกประเภท MP3 เนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก
เกี่ยวกับการ สร้างวัตถุ (Object)
1. ควรรวมวัตถุ ให้เป็นกลุ่ม (Group) ให้มากที่สุด
2. ควรแยกเลเยอร์ที่มีวัตถุเคลื่อนไหว และไม่เคลื่อนไหว ออกจากกัน
3. การวาดเส้นทึบธรรมดา จะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่าเส้นแบบจุด (dash) หรือ เส้นที่มีลวดลาย
4. การวาดเส้นด้วยดินสอ (Pencil) จะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่าการวาดเส้นด้วยแปรง (Brush)
5.ภาพบิตแมพที่ไม่มีความซับซ้อน ลดขนาดลงได้ด้วยการทำ break apart
6. ควรใช้คำสั่ง Modify > Shape > Optimize เพื่อลดจำนวนเส้นที่ประกอบกันเป็นรูปทรง
เกี่ยวกับการ สร้างตัวอักษรและข้อความ
1. การใช้รูปแบบตัวอักษรที่หลากหลาย ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่
2. การฝังฟอนต์ (Embedded) ไปกับมูฟวี่ ทำให้ไฟล์มีขนดใหญ่ ควรใช้เท่าที่จำเป็น
เกี่ยวกับการใช้ สี
1. หากรูปภาพหรือวัตถุ ทีมีความคล้ายกัน ควรสร้างจากซิมโบล แล้วค่อยนำมาปรับขนาดหรือสี
2. ควรใช้ฟิลเตอร์เท่าที่จำเป็น
หมายเหตุ : ควรตรวจสอบไฟล์ หรือวัตถุต่างๆ ใน Library ที่ไม่ได้ใช้งานและลบทิ้ง
เมื่อทำแอนิเมชั่นเสร็จตามต้องการแล้ว การส่งออกไฟล์เพื่อนำเสนอ ทำได้โดย
คลิกเมนู File > Pubblish Settings... (หมายเลข 14)


คลิกที่แท็บ Formats แล้วคลิกเลือก Windows Projector (.exe) (หมายเลข 15)
สามารถเลือก Path สำหรับการส่งออกได้ (หมายเลข 16)
ทำการส่งออกโดยคลิก Publish (หมายเลข 17)


การ Publish
เมื่อสร้างงานตามทีต้องการแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการนำผลงานไปใช้ หรือการส่งออก 
โดยสามารถเลือกรูปแบบการส่งออกเป็นไฟล์ชนิดต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งานซึ่งทำได้ ดังนี้
ขั้นตอนการ Publish
1. คลิกเมนู File > Publish Settings...

  2. ที่หน้าต่าง Publish Settings กำหนดรูปแบบไฟล์ กำหนดชื่อไฟล์ และกำหนดสถานที่
  หรือ Path ที่ต้องการส่งออก


1. การกำหนดชนิดไฟล์ที่ต้องการส่งออก
ทำได้โดย คลิกเครื่องหมายถูก หน้าชนิดของไฟล์ที่ต้องการ (กรอบหมายเลข 1)
2. เมื่อคลิกในข้อ 2.1 แล้ว จะปรากฏแท็บคุณสมบัตินั้นๆ ( ดังกรอบหมายเลข 2)
3. หากต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ สามารถเปลี่ยนได้ในช่องกรอบหมายเลข 3
4. การเลือกสถานที่ หรือ Path ในการบันทึกไฟล์ ทำได้โดยคลิกสัญลักษณ์โฟลเดอร์ ในหมายเลข 4
ในการกำหนดคุณสมบัติการส่งออกของ ไฟล์แต่ละชนิด ทำได้โดยคลิกแท็บชนิดนั้นๆ
เช่น การกำหนดค่าการส่งออกภาพเคลื่อนไหวของ Flash ซึ่งจะได้ไฟล์ .swf เมื่อคลิกแท็บ Flash 

จะปรากฏหน้าต่างสำหรับการตั้งค่าคุณสมบัติ ดังภาพที่ 3 แล้วกำหนดค่าตามต้องการ

ในกรณีต้องการส่งออกเป็นรูปภาพ ชนิด .jpg ทำได้โดยคลิกที่แท็ป JPEG
ซึ่งจะได้หน้าต่างสำหรับการตั้งค่าคุณสมบัติดังภาพ แล้วกำหนดค่าตามต้องการ

  ในกรณีต้องการส่งออกเป็นรูปภาพ ชนิด .gif ทำได้โดยคลิกที่แท็ป GIF
   ซึ่งจะได้หน้าต่างสำหรับการตั้งค่าคุณสมบัติดังภาพ แล้วกำหนดค่าตามต้องการ


 


หรือหากต้อง การส่งออกเป็นไฟล์เว็บเพจ ทำได้โดยคลิกที่แท็ป
 HTML
ซึ่งจะได้หน้าต่างสำหรับการตั้งค่าคุณสมบัติแล้วกำหนดค่าตามต้องการ


  เมื่อกำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม
 Publish เพื่อทำการส่งออกไฟล์ และนำไปใช้ต่อไป


การ Export ไฟล์เพื่อนำไปใช้กับเอกสารอื่นๆ
การส่งออกไฟล์เพื่อนำไปใช้ นอกจากจะส่งออกในแบบของการ Publish แล้ว
ยังสามารถส่งออกแบบเดี่ยวๆ ตามแต่ชนิดของการใช้งานตามต้องการ ดังนี้
ขั้นตอนการส่ง ออกภาพเดียว
1. คลิกเมนู File > Export > Export Image... (หมายเลข 1)

2. เลือกสถานที่บันทึก และพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก (หมายเลข 2)
เลือกชนิดของไฟล์ (หมายเลข 3) แล้วคลิก Save (หมายเลข 4)


3. กำหนดคุณสมบัติของไฟล์ โดยตั้งค่าในกรอบหมายเลข 5
เมื่อกำหนดค่าตามต้องการแล้ว คลิก OK (หมายเลข 6) เพื่อส่งออกไฟล์
 

ขั้นตอนการส่งออกมูฟวี่
1. คลิกเมนู File > Export > Export Movie... (หมายเลข 7)

2. เลือกสถานที่บันทึก และพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก (หมายเลข 8)
เลือกชนิดของไฟล์ (หมายเลข 9) ซึ่งชนิดของไฟล์หากต้องการเป็นไฟล์ Flash ต้องเลือกเป็น .swf
แล้วคลิก Save (หมายเลข 10)
         



หมายเหตุ : ในกรณีที่ต้องการไฟล์ชนิดอื่นๆ สามารถเลือกชนิดไฟล์ โดยการคลิกที่ปุ่มหมายเลข 9
แล้วเลือกชนิดไฟล์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังภาพหมายเลข 11


 แหล่งข้อมูล : http://202.143.142.151/flash/