ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความมักง่ายของคนในสังคม (การไม่เดินข้ามสะพานลอย)

    สะพานลอย คือ สิ่งที่มีไว้อำนวยความสะดวกของคนในการเดินข้ามถนนและมีความปลอดภัยสูง แต่หลายๆคนก็ไม่ค่อยชอบใช้สะพานลอยกัน อาจจะมีจากหลายๆสาเหตุของการไม่ใช้สะพานลอยเช่น ขี้เกียจ เมื่อย เหนื่อย เป็นต้น

     แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปเราหลายคนก็สงสัยว่าสะพานลอยจะสร้างมาทำไมถ้าไม่มีคนใช้ แต่ถ้าในแง่ของความปลอดภัยแล้วสะพานลอยนั้นมีความจำเป็นมากหลายๆคนก็ยังคงไม่ข้ามสะพานลอยยังคงข้ามถนนอยู่เหมือนเดิม  แต่ถ้าที่ไหนไม่มีสะพานลอยประชาชนหรือคนแถวนั้นก็จะเรียกร้องขอให้มีการสร้างสะพานลอย แต่พอสร้างมาแล้วก็ยังมีคนข้ามถนนเหมือนเดิมไม่รู้ว่าเป็นความมักง่ายหรือความเคยชินกันแน่ บางคนก็จะบอกว่าเสียเวลาบ้าง  เร่งรีบบ้าง ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาคนก็จะเดินขึ้นสะพานลอยกันมากขึ้นแต่ก็จะทำกันแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น และก็จะกลับมาเดินข้ามถนนเหมือนอย่างเคย  ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนขึ้นสะพานลอยก็จะมีคนทำไม่กี่คนเท่านั้น การที่เราเดินขึ้นสะพานลอยนั้นก็เหมือนกับว่าเราได้ทำความดีเพราะว่าเราไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ถ้าเราข้ามถนนแล้วถูกรถชนคนหลายๆก็จะต้องเดือดร้อนเพราะว่าความักง่ายของเรา  และถ้าเรามองย้อนกลับไปและนึกถึงความปลอดภัยแล้วนั้นการเดินข้ามสะพานลอยของคนในสังคมนั้นจะทำให้บ้านเมืองมีความเป็นระเบียบมากขึ้นกว่าทุกวันนี้ แค่เพียงเราทุกคนในสังคมยอมเสียสละเวลาอันนั้อยนิดในการเดินข้ามสะพานลอยแล้วสังคมไทยของเราจะเป็นสังคมที่น่าอยู่มากขึ้นคนทุกคนนั้นย่อมจะมีความมักง่ายอยู่ในตนเองอยู่แล้วแต่ถ้าสามารถลดความมักง่ายลงไปบ้างแล้วนั้นเราก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและคนหลายๆก็จะมองว่าเราเป็นคนดีของสังคม  บางคนอาจจะมองว่าเราไม่ใช้สะพานลอยแค่คนเดียวคงไม่เป็นอะไรหรอกแต่ถ้าทุกคนคิดอย่างนี้บ้านเมืองของเราก็จะมีแต่ความวุ่นวายและความเห็นแก่ตัวของคนในสังคมด้วยกันเองแต่ถ้าทุกคนช่วยกันค นละนิดคนละหน่อยก็จะดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้และถ้าทุกคนรู้จักเสียสละนั้นความเห็นแก่ตัวและสิ่งไม่ดีหลายอย่างก็จะหายไปหลงเหลือแต่การทำความดีจากคนในสังคมการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตราบนานเท่านาน


จากเว็บไซต์ : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=342107

การรณรงค์ให้ขึ้นสะพานลอย


1.สร้างวิดิโอรณรงค์ให้ขึ้นสะพานลอย เช่น
http://www.youtube.com/watch?v=wTqzWtPQFC8


2. การจัดตั้งโครงการรณรงค์ให้ขึ้นสะพานลอย เช่น
   
โครงการ Stand on the Right
ประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยและทำงานในกรุงเทพมหานครฯ ทั้งประชากรหลัก และ ประชากรแฝง ส่วนใหญ่เป็นประชาชนชั้นกลาง อาศัยการใช้สะพานลอยในชีวิตประจำวัน ในการสัญจร และ เดินทางเท้าเพื่อข้ามถนน โดยเราจะเห็นได้จากทุกวันนี้ ผู้คนมักจะเดินขึ้นบนสะพานลอยมากกว่าการเดินข้ามทางม้าลาย เนื่องจากการส่งเสริมการข้ามสะพานลอย ของทางภาครัฐฯ เพราะการเดินบนสะพานลอยจะปลอดภัย มากกว่าการเดินข้ามทางม้าลาย แต่ทุกวันนี้การเดินบนสะพานลอยของประชาชนส่วนใหญ่นั้น มักเดินกันไม่เป็นระเบียบและถูกต้องตามหลัก เพราะการเดินขึ้นบนสะพานลอยที่ถูกต้องจะต้องขึ้นขวาลงขวา แต่ประชาชนในปัจจุบันเดินขึ้นลงแบบไม่ถูกต้อง ไม่ขึ้นขวาลงขวา แต่ต่างคนต่างขึ้น ต่างคนต่างอาศัยการรีบเร่งของตัวเอง เดินเพื่อความสะดวก จึงให้ทำให้เกิดการชน และ กระแทก จนถึงมีการทะเลาะวิวาท ทั้งทางวาจา และ การใช้กำลังในที่สุด ทำให้กลุ่มผู้ทำโครงการ เกิดแนวคิดการจัดทำโครงการขึ้นสะพานลอยได้อย่างถูกต้อง และ สามารถนำไปพัฒนาอย่างง่าย สู่การเจริญเติบโตทางความคิดอย่างยาก ขึ้นในวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนไทย ทั่วไป


ปัญหาเพราะประชาชนส่วนใหญ่ ทีอาศัยในกรุงเทพมหานครฯ ในกรุงเทพทุกวันนี้ ใช้สะพานลอยในการเดินข้ามถนนกันเป็นส่วนใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดกันแต่ว่าเดินทางไหนก็ได้โดยทำให้ดูไม่เป็นระเบียบเกิดการล้าช้าในการใช้สะพานลอย
วิธีแก้ไขปัญหา                                                                                                                                       เราต้องทำป้ายติดรณรงค์ขึ้นขวาลงขวา เพื่อให้ประชาชนเดินได้อย่างเป็นระเบียบและถูกต้อง เพื่อที่จะให้ประชาชนทุกคนเดินบนสะพานลอยได้อย่างสะดวกและไม่เกิดความวุ่นวายในการใช้สะพานลอย
จากเว็บไซต์ : http://www.changemakers.com/th/project

การไม่ข้ามสะพานลอย



    การไม่ข้ามสะพานลอย คือปัญหาใหญ่ของคนไทยคอเรามีความมักง่าย หลายคนไม่เคร่งครัด
กับการข้ามสะพานลอย  สะดวกจะข้ามตรงไหนก็ข้าม บางครังแม้แต่เดินข้ามถนนตรงใต้สะพานลอย
ก็เห็นเยอะ ความจริงแล้วการข้ามถนนโดยใช้สะพานลอยเป็นวิธิที่ปลอดภัยที่สุด โอกาสถูกรถ
เฉี่ยวชนเป็นศูนย์ อ่านต่อได้จาก ttp://sakaeo.dlt.go.th/attachments/077_2013_10.pdf


สะพานลอย คอยคนขึ้น

บทวิเคราะห์
กรณีศึกษาการใช้สะพานสอย หน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร
ประกอบ บทความ สะพานลอย คอยคนขึ้น
รายวิชา 304333 วิศวกรรมขนส่ง
*********************************

                สะพานลอย เป็นสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้ที่ต้องการข้ามท้องถนนและยานพาหนะที่สัญจรไปมา กล่าวคือ ผู้ที่ต้องการข้ามท้องถนนก็ไม่ต้องคอยระวังรถบนท้องถนนที่วิ่งมา และผู้ใช้รถบนท้องถนนเองก็ไม่ต้องวิตกถึงการข้ามถนนอย่างกะทันหันของผู้คน เป็นการอำนวยประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏนั้นผู้คนส่วนใหญ่ก็มิได้ให้ความสำคัญแก่การข้ามถนนโดยใช้สะพายลอยเท่าใดนักด้วยเหตุผลหลายหลากที่นำมาอ้างกัน ด้วยเหตุนี้การชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้สะพานลอยจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมีการใช้สะพานลอยในการข้ามถนนแล้ว ผู้ใช้สะพานลอยย่อมปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการจราจรบนท้องถนนได้
                จากการสำรวจพื้นที่บริเวณสะพานลอยหน้ามหาวิทยาลัยพบว่า สะพานลอยเป็นสะพานสำหรับข้ามทางคู่ขนานพิษณุโลก-นครสวรรค์ มีช่องการจราจรรวม 10 ช่องการจราจร ตัวสะพานจึงมีความยาวค่อนข้างมากและมีความสูงประมาณ 6 เมตร บริเวณทางลงทั้งสองด้านของสะพานเป็นป้ายจอดรถประจำทางสำหรับรับ-ส่งผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง จากการสังเกต พบว่าการสัญจรของรถยนต์บนถนนหลักนั้นใช้ความเร็วค่อนข้างสูง การเคลื่อนตัวของรถยนต์นั้นจะกระจุกตัวตามช่วงสัญญาณไฟจราจรที่แยกหนองอ้อ บางช่วงถนนจึงค่อนข้างโล่ง แต่ด้วยขนาดของถนนที่ค่อนข้างกว้างการเดินข้ามจึงต้องใช้เวลาพอสมควร
จากการเก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 50 คน เป็นชายร้อยละ 36 และหญิงร้อยละ 64 พบว่า มีผู้เคยใช้สะพานลอยในการข้ามถนนเป็นครั้งคราวร้อยละ 14 ผู้ที่ไม่เคยใช้คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนผู้ที่ใช้เป็นประจำไม่มี จึงจะเห็นได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดมิได้ใช้บริการสะพานสอยในการข้ามถนนเลย และจากการสอบถามถึงเหตุผลของการไม่ใช้สะพานลอยในการข้ามถนนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าการเดินข้ามถนนนั้นปลอดภัยพอแก่การที่จะเดินข้ามได้ กับทั้งเห็นสะพานลอยนั้นไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย ด้วยมีเศษวัสดุต่าง ๆ อยู่และมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ อาจเกิดอาชญากรรมได้ในยามวิกาล
                จากการวิเคราะห์ถึงเหตุของการไม่ใช้สะพานลอยนั้น เหตุหลักน่าจะมาจากทัศนะคติของผู้ใช้สะพานลอยเองที่มองไม่เห็นถึงประโยชน์ของการใช้สะพานลอย ประกอบกับการเดินข้ามถนนจนเป็นปกติวิสัย รวมไปถึงอาจมีปัจจัยทางกายภาพของสะพานลอยเองที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานด้วย ผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้วิธีการเดินข้ามถนนซึ่งสะดวกกว่าตามทัศนะคติของผู้ข้ามท้องถนน
                ภาครัฐเองนั้นก็มีการรณรงค์ให้มีการใช้สะพานลอยในการข้ามถนน ตลอดจนมีมาตรการทางกฎหมายบังคับให้ผู้คนที่ข้ามถนนในรัศมี 100 เมตรของบริเวณที่มีสะพานลอยเป็นความผิดที่มีโทษปรับ แต่ก็มิได้ก็ให้เกิดมีการใช้สะพานลอยในการข้ามถนนแต่อย่างใด เพราะผู้คนส่วนใหญ่ก็มิได้รู้ถึงข้อบังคับนั้น หรือรู้แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสะพานลอยนั้น
                การใช้สะพานลอยในการข้ามถนนนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ที่มีวินัยในตนเอง มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเองและผู้ใช้รถบนท้องถนน สมประโยชน์ของการก่อสร้างสะพานลอยที่มาจากเงินภาษีของพวกเราทุกคน
               
ใช้สะพานลอย เมื่อจะข้ามถนนในบริเวณที่มีสะพานลอย ปลอดอุบัติเหตุบนท้องถนน

********************************************
จากเว็บไซต์ : http://sapan-ch4.blogspot.com/